ในโลกยุคปัจจุบันนี้การสื่อสารกันผ่านหน้าจอ การแสดงตัวตนและสไตล์ที่จะแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะในสิ่งที่ต้องการสื่อถึงนั้น ๆ โดยถูกเผยแพร่ผ่าน ‘ศิลปะของการเขียน’ ในโลกสมัยใหม่ ‘การเขียน (writing)’ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เพื่อสัมผัสและสื่อสารกับผู้คนได้ แต่การเขียนเพื่อสื่อสารกับผู้คนผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เราย่อมต้องเข้าใจและใช้พลังของแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ ไปจนถึงเข้าใจพฤติกรรมที่คนในการอ่านยุคดิจิทัล การเขียนจึงไม่ใช่แค่การเขียน แต่คือการคิดที่รวมเอาการออกแบบเนื้อหา ภาพ และสื่อผสมอื่น ๆ อันเป็นการใช้พลังของเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงและส่งสารถึงผู้อ่านได้อย่างเหมาะสม
การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ในโลกสมัยใหม่ การทำคอนเทนต์ออนไลน์ที่มีพลัง เป็นสิ่งที่คนอยากแชร์และมีคุณภาพ จึงเป็นการรวมเทคนิคการเขียน ทั้งการเขียนบทความแบบคลาสสิก เช่น ศิลปะของการใช้คำ การสร้างแกนกลางหรืออาร์กิวเมนต์ การวางโครงสร้างของบทความที่มีเอกภาพ ผสานเข้ากับแนวคิดของการโฆษณาที่ใช้ทั้งภาพ (visual) และคำ (copywriting) เพื่อจับผู้อ่านนับตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง เทคนิคการดึงผู้อ่านผ่านการวางบรรยากาศในรูปแบบต่าง ๆ กลยุทธ์การเริ่มต้นและจบเรื่อง ไปจนถึงการคิดงานเชิงสร้างสรรค์และความเข้าใจตัวแพลตฟอร์มเฉพาะเช่นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และการเขียนเนื้อหาบทเว็บไซต์ ความเข้าใจกลไกและองค์ประกอบของแพลตฟอร์มทำให้สามารถคิดคอนเทนต์ออนไลน์ได้อย่างรอบด้าน สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้วยการใช้สื่อผสมระหว่างภาพ ข้อเขียนต่าง ๆ เช่น แคปชัน อัลบั้มภาพ วิดีโอคลิป เทคนิคสำคัญในการออกแบบการสื่อสารที่ทำงานร่วมกันของการเขียนและการสื่อสารด้วยภาพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจึงจัดหลักสูตรการเขียนเชิงสร้างสรรค์บนเว็บไซต์ขึ้น เช่น การรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรต่าง ๆ ที่น่าสนใจ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยและการแสดงข้อมูลภายในองค์กรทั้งในด้านจำนวนบุคลากรและจำนวนนักศึกษา เพื่อง่ายต่อการสื่อสารต่อนักศึกษาและบุคคลที่สนใจต่อมหาวิทยาลัย โดยการตลาดดิจิทัล (Digital marketing) จะเข้ามาช่วยให้การสื่อสารในองค์กรมีกลยุทธ์ในการสื่อสารมากขึ้น และการสื่อสารสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจอย่างแท้จริง โดยเนื้อหาการตลาดดิจิทัล (Digital marketing) จะส่งเสริมให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถเรียนรู้ เข้าใจ รู้จักเครื่องมือทางด้านการตลาดดิจิทัล และพัฒนาการสื่อสารภายในองค์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างสื่อผสมระหว่างภาพ และข้อความ ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ หรือใช้ในงานได้
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างสื่อผสม ระหว่างภาพวิดีโอคลิป และข้อความ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายได้
วิทยากร : คุณเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช (หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการและข้อมูล)
ผู้ช่วยวิทยากร : คุณวรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี และคุณพัชรี ญานสาร
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 20 มีนาคม 2568 หรือเมื่อมีผู้ลงทะเบียนเต็มตามจำนวนแล้ว จำกัด 40 คนเท่านั้น (ประกาศรายชื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568)
ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2568 สถานที่อบรมอาคารฝึกอบรม ชั้น 2 ห้อง 2 ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อบรมฟรีสำหรับบุคลากร มทร.ธัญบุรี และมีใบประกาศนียบัตรรับรองผ่านการฝึกอบรมเมื่อเข้าอบรมครบ 80% จากกำหนดการทั้งหมด
หมายเหตุ
ในกรณีที่ท่านลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมและไม่สามารถเข้าร่วมการฝึกอบรมได้กรุณาแจ้งติดต่องานบริการวิชาการและฝึกอบรม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร โทร. 02 549 3085
(หากพบปัญหาในการลงทะเบียน/ยกเลิกการเข้าอบรม/ ลงทะเบียนผิดโครงการ กรุณาแจ้งก่อนการอบรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ในกรณีไม่แจ้งขอจำกัดสิทธิ์การลงทะเบียนโครงการอื่น ๆ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ จึงเรียนมาเพื่อทราบ)
ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่ >> https://regtraining.rmutt.ac.th/
กำหนดการอบรม
วัน/เดือน/ปี |
เวลา | เนื้อหา |
25 มี.ค. 2 |
08.30 – 09.30 น. |
บรรยาย (1 ช.ม.) – หลักเกณฑ์ในการจัดทำหรือพัฒนาเว็บไซต์ |
09.30 – 12.00 น. |
ปฏิบัติ (2.5 ช.ม) – การสร้าง Sub Domain – การสร้าง Main Menu – การสร้าง Templates Header/Footer |
|
12.00 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 16.30 น. |
ปฏิบัติ (3.5 ช.ม) – การสร้างหน้า Home – การสร้าง slider revolution betheme – ตัวอย่างการใช้งาน Sub Domain ที่เหมาะสม – การเรียกใช้งาน |
|
26 มี.ค. 2568 |
08.30 – 12.00 น. |
ปฏิบัติ (3.5 ช.ม) – ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ Creative Writing – การเขียนบทความและเนื้อหาบน Website และสื่อออนไลน์ ให้น่าอ่าน – เทคนิคการเขียนบทความให้ติด SEO – เทคนิคการเขียนบทความให้รองรับ SDGs |
12.00 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 16.30 น. |
ปฏิบัติ (3.5 ช.ม) – AI เครื่องมือออนไลน์ช่วยเขียนบทความ – chatgpt.com – gemini.google.com – copilot.microsoft.com – www.canva.com |