สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามประกาศจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 โดยการรวมสองหน่วยงานเข้าด้วยกันคือ สถาบันวิทยบริการและสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประวัติสถาบันวิทยบริการ

 อาคารวิทยบริการ มีพื้นที่ขนาด 8,000 ตารางเมตร

สถาบันวิทยบริการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีฐานะเทียบเท่ากองทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลโดยมีภารกิจหลักในการจัดหาพัฒนาผลิต และจัดระบบการบริการสื่อสารนิเทศทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

สถาบันวิทยบริการได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 30 กันยายน 2536 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณในชื่อหอสมุดกลาง เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 43 ล้านบาท ลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น มีพื้นที่รวม 8,000 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 กันยายน 2538 ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินการขณะที่อาคารก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สำนักงานเลขานุการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล มีสำนักงานอยู่ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ส่วนหอสมุดกลางอาศัยสถานที่ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์  เป็นที่ทำการชั่วคราว การดำเนินการระยะแรกมุ่งเน้นที่หอสมุดกลางเป็นการเตรียมสะสมหนังสือให้มาก ที่สุดเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงงานเป็นหลัก สถาบันวิทยบริการจึงได้เปลี่ยนโครงสร้างตามลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงโดย เปลี่ยนจากหอสมุดกลาง ศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและสำนักเลขานุการ เป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายศิลปกรรม ฝ่ายผลิตสื่อการศึกษา และฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีภารกิจ ดังนี้

  • ดำเนินการจัดหาผลิตและพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
  • พัฒนางานด้านต่างๆของสถาบันวิทยบริการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากล
  • นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนิน งาน เพื่อส่งเสริมระบบการจัดการและเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศอย่างสะดวกและรวดเร็วพัฒนาสถาบันวิทยบริการให้เป็นศูนย์ กลางการให้การศึกษาค้นคว้าการวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและบุคคลทั่วไป
  • ผลิตสื่อการศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลด้วยระบบดาวเทียม
  • รวบรวมประวัติความเป็นมาและเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของสถาบันบริการ

ประวัติสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับอนุมัติโดยสถาบันฯ ให้จัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้น ในสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2530 โดยให้งบประมาณ ในการดำเนินการครั้งแรกจำนวน 1,148,400  บาท  (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นแปดพันสี่ร้อยบาทถ้วน) ด้วยงบประมาณผลประโยชน์สะสมของสถาบันฯ ในระยะแรกมีภารกิจในด้านบริการโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถาบันฯ ต่อมาสภาสถาบันฯได้มองเห็นความสำคัญและบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนา อย่างรวดเร็ว และเพื่อจัดระบบงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกันในด้านปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และบุคลากร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้จัดตั้งสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยแยกออกจากสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบเมื่อปี 2536

ต่อมาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องปฏิบัติภารกิจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารกับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ของมหาวิทยาลัยฯ ให้บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สนับสนุนการปฏิบัติงานตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การบริหาร และการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ภารกิจหลักสามารถสรุปได้ดังนี้

  • บริการระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
  • กำหนดมาตรฐานและจัดหาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รวมทั้งสื่อและซอฟต์แวร์ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
  • พัฒนาฐานข้อมูลกลางและระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการเรียนการสอนการบริหาร ของมหาวิทยาลัยฯ
  • ให้บริการข้อมูลพื้นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ผู้บริหาร และบุคคลภายนอก
  • ยกระดับบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกระดับและทั่วถึง
  • สนับสนุนและสร้างผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านระบบสารสนเทศ และการพัฒนาโปรแกรม

ประวัติสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานเทียบ เท่าคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ

  • อาคารสำนักงานผู้อำนวยการ มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
  • อาคารฝึกอบรม มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
  • อาคารวิทยบริการ มีพื้นที่ขนาด 8,000 ตารางเมตร

ปัจจุบันสำนักฯ มีพื้นที่บริการกับนักศึกษาและบุคลากร ร่วมถึงบุคคลภายนอกทั้งสิ้น 6 อาคารได้แก่

 พื้นที่ในการบริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. อาคารสำนักงานผู้อำนวยการ (ICT) มีพืันที่ขนาด 807 ตารางเมตร
  2. อาคารฝึกอบรม มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
  3. อาคารวิทยบริการ มีพื้นที่ขนาด 8,000 ตารางเมตร
  4. ศูนย์บริการความรู้ CKC มีพื้นที่ขนาด 1,100  ตารางเมตร
  5. อาคาร i Work มีพื้นที่ขนาด 3,632  ตารางเมตร
  6. อาคารเรียนรวม 13 ชั้น มีพื้นที่ขนาด 22,000  ตารางเมตร

   อาคารสำนักงานผู้อำนวยการ (ICT) มีพืันที่ขนาด 807 ตารางเมตร

 

อาคารฝึกอบรม มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร

ศูนย์บริการความรู้ CKC มีพื้นที่ขนาด 1,100 ตารางเมตร

ศูนย์บริการความรู้ CKC มีพื้นที่ขนาด 1,100  ตารางเมตร

   อาคาร i Work มีพื้นที่ขนาด 3,632  ตารางเมตร

อาคารเรียนรวม 13 ชั้น มีพื้นที่ขนาด 22,000 ตารางเมตร

อาคารเรียนรวม 13 ชั้น มีพื้นที่ขนาด 22,000  ตารางเมตร

พื้นที่ เกือบทั้งหมดถูกนำมาให้เพื่อการบริการวิชาการโดยรวมเอาภารกิจหลักของหน่วยงานเดิมโดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้รับบริการภายใต้โครงสร้างหลักของสำนักฯ ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มงานได้แก่

  • สำนักงานผู้อำนวยการ
  • กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
  • กลุ่มบริการสารสนเทศ
  • กลุ่มเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
  • กลุ่มเผยแพร่สื่อการศึกษา

โครงสร้างการแบ่งกลุ่มงานและภาระงาน
ภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

บุคลากร

บุคลากรของสำนักมีจำนวนรวม 78 คน ประกอบด้วย

  • ผู้บริหาร                                 3  คน (จากการสรรหา)
  • ข้าราชการ                             2   คน
  • พนักงานมหาวิทยาลัย        36   คน
  • พนักงานราชการ                 11    คน
  • ลูกจ้างชั่วคราว                    25   คน

การตอบสนองต่อแผนการพัฒนามหาวิทยาลัย

สำนักต้องมีส่วนในการสนับสนุนและผลักดันนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ นโยบายหลัก(11C) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการสนับสนุนภารกิจด้านต่างๆ ให้บรรลุตามแผนงานของมหาวิทยาลัย