สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ(สวส.)ร่วมกับกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) สร้างคนร่วมพัฒนาและเสริมสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย โดยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Digital Content Marketing คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า ให้แก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนข่าวและ Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้กับบุคลากร โดยมี นายอลงกรณ์ รัตตะเวทิน นางสาวชลธิชา ศรีอุบล และนางสาวประอรสิริ สุกนิล นักประชาสัมพันธ์ กองประชาสัมพันธ์เป็นวิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปองพล นิลพฤกษ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยว่า สื่อยุคใหม่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ทั้งยังมีเครื่องมือใหม่ ๆ และใช้งานไม่ยุ่งยากให้นำมาใช้อย่างมากมาย ดั้งนั้นบุคลากร มทร.ธัญบุรี ทุกท่านสามารถร่วมเป็นผู้สร้างสื่อเพื่อช่วยกันแพร่เผยและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับมหาวิทยาลัยได้โดยทางสวส.ได้เป็นแม่งานจับมือกับกองประชาสัมพันธ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Digital Content Marketing คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า ให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
โดยหลักสูตรนี้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคการสร้างเนื้อหา (content) ที่เหมาะสมสำหรับการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นไปที่การสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มลูกค้า เพื่อเป้าหมายให้เกิดผลสำเร็จในการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน การเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเนื้อหาที่เน้นไปยังเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การเขียนบทความ (article), การสร้างวิดีโอ (video), และการออกแบบกราฟิก (graphic) โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้เนื้อหามีคุณภาพและมีความน่าสนใจสำหรับกลุ่มลูกค้านอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นไปยังการสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์สำหรับสังคม โดยการเขียนข่าว SDGs (Sustainable Development Goals) เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับผู้อ่านในเรื่องโครงการยั่งยืน ที่จะช่วยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ จัดขึ้น ณ ห้องอบรม 1 ชั้น 2 อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
นางสาวชลธิชา ศรีอุบล (หวาน) นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ วิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนสกู๊ปข่าว เผยว่า “การเขียน หรือสร้างคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตาม จำเป็นต้องเข้าใจองค์กรในภาพรวมก่อน แล้วเลือกเรื่อง/ประเด็นที่สนใจ จากนั้นลงมือเขียน อ่านตรวจทาน แล้วจึงเผยแพร่คอนเทนต์นั้น ๆ ขณะเดียวกันจะต้องมีการเจาะจงในส่วนของ SDGs ด้วย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ชาว มทร.ธัญบุรี ควรใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานประชาสัมพันธ์”
ส่วน นางสาวประอรสิริ สุกนิล (อร) นักประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติการ หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า “ดีใจที่ได้มาเจอกับคนสายงานพีอาร์ด้วยกัน ทั้งคณะและหน่วยงาน ทั้งยังได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการเขียนและสร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับ SDGs ที่สำคัญยังได้เรียนรู้ปัญหา ข้อสงสัยร่วมกันเกี่ยวกับสายงานพีอาร์”
ในส่วนของผู้เข้าอบรม นางสาวกัญญา ตู้พิจิตร์ นักวิชาการฝ่ายวัฒนธรรมกองพัฒนานักศึกษา เล่าว่า ส่วนตัวทำงานในส่วนงานวัฒนธรรม ยังไม่มีพื้นฐานในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ สำหรับการอบรมในวันนี้ ได้รับความรู้และเทคนิคในการเขียนข่าวและเจาะลึกรายละเอียด เช่น การพาดหัวข่าว โปรยข่าว วิธีการเขียนข่าว การถ่ายภาพข่าว “ในส่วนของ SDGs มีพื้นฐานและได้รับการอบรมมาบ้างแล้ว ทางทีมวิทยากรมีการแนะนำ สรุป SDGs การปรับใช้ ให้สอดคล้องเนื้อหาของการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์” โครงการนี้มีประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์งานต่อไป
นับเป็นโอกาสที่ดี ที่มีการจัดอบรมโครงการ Digital Content Marketing คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า นี้ขึ้น ถือว่าเป็นก้าวย่างที่ดีในการร่วมกับขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้านนางสาวสุไบซะ จำนงลักษณ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดงานประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความเห็นว่า โครงการอบรมครั้งนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์สำหรับตนเองมาก เนื่องจากอยู่ในเส้นทาง พีอาร์มานานนับสิบปี แต่ยังไม่เคยเข้าอบรมในเรื่องการทำคอนเทนต์ การทำสกู๊ปข่าว เลย ซึ่งนับว่าได้รับโอกาสดีมาก ๆ ที่งานพีอาร์ได้เปิดโลกทัศน์ ให้รู้จักคำว่า SDGs ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัย และคณะผู้จัดทุกท่าน ที่มอบโอกาสตรงนี้และหวังว่าจะได้รับโอกาสเข้ารับการอบรมโครงการที่มีประโยชน์แบบนี้อีกค่ะ”
นายสุภภักดิ์ รักษ์แก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ปฏิบัติการ) กองนโยบายและแผน เล่าว่า ปัจจุบันได้รับหน้าที่ในการดูแลเว็บไซต์ของหน่วยงาน ซึ่งยังไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการสร้างคอนเทน การเขียนข่าว และการสื่อสารที่ดีพอ จึงได้สนใจเข้าร่วมการอบรม ในการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านเว็บไซต์ และประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้ทราบถึงหลักการเขียนข่าว การเขียนสกู๊ปข่าว การถ่ายภาพข่าว การเลือกภาพข่าว กระใช้คีย์เวิร์ดหรือการโปรยหัวข่าวให้น่าสนใจ การใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในกระบวนการทำงานและการสื่อสารองค์กร นอกจากนี้ทางวิทยากร ยังได้ให้ความรู้ และเทคนิคการเขียนข่าว และสร้างคอนเทนต์ให้มีความเชื่อมโยงกับ SDGs เพื่อการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่อไป
นางสาววิภาพร เกษม นักประชาสัมพันธ์ กองประชาสัมพันธ์ เล่าว่า ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์มาจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัย โดยเป็นเนื้อหาน่าสนใจ อยากเรียนรู้หลักการเขียนข่าวให้น่าสนใจ ต้องการนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานที่ทำงานอยู่ ซึ่งเป็นงานด้านการประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว โดยส่วนตัวพอเข้าใจในด้านการเขียนข่าวอยู่บ้าง ในการอบรมครั้งนี้เหมือนได้เดิมเติมให้มีความเข้าใจและสามารถเขียนข่าวให้น่าสนใจได้มากกว่าเดิม ในส่วน SCGs มีความรู้ความเข้าใจน้อยมาก ในการอบรมนี้ทำให้ได้รู้จัก SCGs และแนวทางให้การทำไปใช้กับงานประชาสัมพันธ์ให้ถูกต้อง การอบรมครั้งนี้มีประโยชน์กับงานที่ตนเองทำมาก ได้ความรู้ความเข้าใจและปรับใช้ในงานประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมส่งภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น
นางสาวเดือนฉาย หน่ายคอน นักวิชาการศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร เล่าว่า ทำงานในส่วนของการนำเสนอข่าว สนใจหัวข้อนี้เป็นการสอนเกี่ยวกับการเขียนข่าว ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเขียนสกรู้ปข่าวในหัวข้อต่าง ๆ การเขียนภาพข่าว และการเลือกรูปภาพมาใช้ในวานประชาสัมพันธ์ นำไปปรับใช้ได้ การเขียนข่าวให้หน้าสนใจจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน
รายละเอียดการบรรยาย
1.News Reporting & Writing การสื่อข่าวและการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
-การสร้างคอนเทนต์ข่าว (Content) เพื่อการประชาสัมพันธ์
-ลักษณะ (Form & Style) ข่าวประชาสัมพันธ์และข่าวทั่วไป
-ข้อมูลสำคัญของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
-เรียนรู้-เจาะลึก โครงสร้างพื้นฐานข่าวในยุคดิจิทัล
-การจัดแบ่งประเภทสื่อ (ตามแนวทางการดำเนินงานขององค์กร)
-เทคนิค/กลยุทธ์การเผยแพร่ (Distribution) ข่าว
-Workshop ฝึกปฏิบัติสร้างคอนเทนต์ ให้เป็นข่าว (Content) เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. News Reporting & Writing การสื่อข่าวและการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล (ต่อ)
-ภาพข่าว-เล่าเรื่อง / การเดินเรื่องด้วยภาพ (Pictorial)
-เทคนิคการเขียนคำบรรยายภาพข่าวสำหรับสื่อออนไลน์
-Workshop ฝึกปฏิบัติการเขียนภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
2. พาดหัวข่าว (Headline) ประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ Power of Headline วิธีการเขียน HEADLINE เพื่อดึงดูดลูกค้าคุณภาพบนโลกออนไลน์
3. แนวทางการวางกลยุทธ์การทำคอนเทนต์และตัวชี้วัดให้เหมาะสมและตอบโจทย์เป้าหมายการทำการตลาด
Content Marketing Funnel : TOFU เทคนิคการสร้างคอนเทนต์สำหรับการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเข้าสู่กลุ่มลูกค้าที่เราต้องการ
วันที่ 15 ธันวาคม 2566
1. Content Marketing Funnel : MOFU โครงสร้างคอนเทนต์ที่จะทำให้แบรนด์ของคุณน่าเชื่อถือ และน่าดึงดูด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายยินดีที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลของตนเองกับ ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากแบรนด์
2. Martech Tool for Content Marketing รวมเครื่องมือในการสร้างคอนเทนต์ที่แตกต่าง สร้างสรรค์ และตอบโจทย์ลูกค้าบนโลกดิจิทัล
3. การสร้างปฏิทินกิจกรรมสำหรับเว็บไซต์หน่วยงาน และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยด้วย Outlook Calendar
-วิธีการเข้าสู่ระบบอีเมล (Email) บุคลากร มทร.ธัญบุรี
-วิธีการสร้างหมวดหมู่กิจกรรมของปฏิทิน
-การกำหนดสิทธิการเข้าถึงอีเมลสำหรับผู้อื่น
-วิธีการนำปฏิทินไปใช้งานบนเว็บไซต์
-การเชื่อมโยงเนื้อหาข่าวและปฏิทินกิจกรรม
-Workshop
————————————————————————
สรุปผลสำรวจความพึงพอใจ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Digital Content Marketing คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า
ระหว่างวันที่ 14 -15 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 – 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องอบรม 1 อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความพึงพอใจต่อโครงการฯ
1. ความคิดเห็นต่อโครงการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความพึงพอใจต่อโครงการ | 4.80 | 96.00 |
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม/สัมนา | 4.80 | 96.00 |
3. ความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของโครงการ | 4.80 | 96.00 |
4. ความรู้ความเข้าใจในโครงการหลังการฝึกอบรม | 4.80 | 96.00 |
5. ประโยชน์ของเนื้อหาสาระของโครงการต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน | 4.78 | 95.50 |
6. ระยะเวลาของโครงการในการฝึกอบรม | 4.73 | 94.50 |
ความคิดเห็นต่อโครงการ | 4.78 | 95.67 |
2. ความคิดห็นต่อการจัดการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. การติดต่อประสานงานกับผู้เข้าฝึกอบรม | 4.70 | 94.00 |
2. การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกรวมทั้งบริการของเจ้าหน้าที่ | 4.85 | 97.00 |
3. ความเหมาะสมของห้องฝึกอบรม | 4.80 | 96.00 |
4. ความเหมาะสมของเครื่องคอมพิวเตอร์ | 4.78 | 95.50 |
5. เครื่องปรับอากาศ | 4.75 | 95.00 |
6. ความพร้อมอุปกรณ์โสต (เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, โปรเจ็คเตอร์) | 4.83 | 96.50 |
7. อาหารกลางวัน | 4.83 | 96.50 |
8. อาหารว่างและเครื่องดื่ม | 4.83 | 96.50 |
ความคิดเห็นต่อการจัดการ | 4.79 | 95.88 |
ความพึงพอใจรวม | 4.79 | 95.77 |
ความพึงพอใจต่อวิทยากรและการสอน
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา | 4.63 | 92.50 |
2. ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังข้าใจ | 4.73 | 94.50 |
3 การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ | 4.73 | 94.50 |
4. การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชา | 4.55 | 91.00 |
5 ความชัดเจนในการบรรยาย | 4.60 | 92.00 |
6. การตอบคำถาม | 4.78 | 95.50 |
7. เทคนิค / วิธีการฝึกอบรมที่ใช้ในการถ่ายทอด | 4.68 | 93.50 |
8. การใช้โสตทัศนูปกรณ์ | 4.58 | 91.50 |
9. การควบคุมชั้นเรียน | 4.63 | 92.50 |
10. การรักษาเวลา | 4.78 | 95.50 |
11. ความเหมาะสมของวิทยากรโดยส่วนรวม | 4.78 | 95.50 |
ความคิดเห็นต่อวิทยากร | 4.68 | 93.50 |
————————————————————————
สรุปผลสำรวจความพึงพอใจ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Digital Content Marketing คอนเทนต์ยุคใหม่ มัดใจลูกค้า
ความพึงพอใจต่อโครงการฯ
ผู้ประเมิน 40 คน มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.79 คิดเป็นร้อยละ 95.77 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด
ความพึงพอใจต่อวิทยากรและการสอน
ผู้ประเมิน 40 คน มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.50 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด
ดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตรได้ที่ คลิก
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการฝึกอบรม คลิก!!
ผลงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ภาพข่าว