ในยุคดิจิทัลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกปัจจุบัน การพัฒนาทางเทคโนโลยีส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาในการท่องโลกแห่งยุคดิจิทัลเพื่อการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนโลกออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้กระบวนการทางการตลาดในยุคดิจิทัลมีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างการรับรู้ในสินค้าและบริการ เพื่อก่อให้เกิดการเข้าถึงความรู้สึกแบบมีส่วนร่วมกับลูกค้า และการสร้างยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ ผ่านสื่อดิจิทัลโดยอาศัยการวัดผลเชิงตัวเลข ทำให้กระบวนการทางการตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง (ชเนตตี พุ่มพฤกษ์, 2564) ทั้งนี้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภคในยุค Digital Marketing จะทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้บริโภคด้านการโน้มน้าวความเชื่อ ด้านการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ด้านความรู้สึกและเร่งพฤติกรรมซื้อสินค้าหรือบริการได้เร็วขึ้นกว่าปกติ (สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์, 2562)
การตลาดดิจิทัล (Digital marketing) เป็นการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งโดยวิธีโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ทางสื่อดิจิทัล ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ง่าย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้การตลาดดิจิทัลยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจแบรนด์ใหม่ ทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างสามารถทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในจำนวนมากได้โดยตรง ธุรกิจแบรนด์ใหม่จึงมีโอกาสที่จะเป็นที่รู้จัก และเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่องทางต่าง ๆ ของการตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing, 2020, website) โดยประโยชน์ชองการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ความสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้ทันที 2) งบประมาณค่าการตลาดไม่สูงนักและยังสามารถควบคุมงบประมาณได้แม่นยำ 3) มีช่องทางการตลาดมากขึ้น 4) ช่วยสร้างช่องทางทางธุรกิจสามารถสร้างยอดคนติดตามและผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ง่าย และ 5) อัพเดตเนื้อหาที่ตรงกับสถานการณ์ได้ตลอดเวลา (ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ และนันทนิธิ์ เอิบอิ่ม, 2564)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจึงจัดหลักสูตรการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์ขึ้น เช่น การรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรต่าง ๆ ที่น่าสนใจ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยและการแสดงข้อมูลภายในองค์กรทั้งในด้านจำนวนบุคลากรและจำนวนนักศึกษา เพื่อง่ายต่อการสื่อสารต่อนักศึกษาและบุคคลที่สนใจต่อมหาวิทยาลัย โดยการตลาดดิจิทัล (Digital marketing) จะเข้ามาช่วยให้การสื่อสารในองค์กรมีกลยุทธ์ในการสื่อสารมากขึ้น และการสื่อสารสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจอย่างแท้จริง โดยเนื้อหาการตลาดดิจิทัล (Digital marketing) จะส่งเสริมให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถเรียนรู้ เข้าใจ รู้จักเครื่องมือทางด้านการตลาดดิจิทัล และพัฒนาการสื่อสารภายในองค์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจการทำ SEO Content Marketing
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถประยุกต์ใช้ในงาน SEO Content Marketing สำหรับสื่อออนไลน์ของมหาวิทยาลัยได้
วิทยากรภายนอกโดย
นายภควัต สุวรรณเขตต์
หลักสูตรนี้รับสมัครเฉพาะบุคลากร ของ มทร.ธัญบุรี Onsite จำนวน 30 คนเท่านั้น
บุคลากรของ มทร.ธัญบุรี ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการสื่อสารองค์กรในรูปแบบออนไลน์เช่น เว็บไซต์ คณะและหน่วยงานสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้ที่
จำนวนผู้สนใจอบรม Onsite เต็มแล้ว สามารถเข้าร่วมอบรม Online
ลงทะเบียน : https://shorturl.asia/kAf53
กำหนดการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร SEO Content Marketing สำหรับการจัดทำการตลาดออนไลน์
ระยะเวลาการฝึกอบรม จำนวน 1 วัน 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ณ อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เวลา | ลงทะเบียน |
08.00-08.30 น. |
บรรยาย เรื่อง 1. ความรู้เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล เข้าใจผู้บริโภคและ Marketing funnel เบื้องต้น |
12.00-13.00 | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-16.30 |
7. Google Ads คืออะไร 8. Google รู้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร 9. โครงสร้างของ Google Ads และวัตถุประสงค์การโฆษณา 10. ประเภทการทำงานของคีย์เวิร์ด 11. ส่วนขยายของโฆษณาคืออะไร 12. วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณา google 13. รูปแบบการโฆษณาบน Youtube 14. คุณสมบัติของ Landing page ที่ดี 15. วิธีการวัดผลโฆษณาและคำศัพท์พื้นฐานของโฆษณา |
ดาวโหลดเอกสารประกอบการฝึกอบรม คลิก!!
แบบตอบรับการเข้าร่วมการอบรมใช้เฉพาะบุคลากรของหน่วยงานที่ต้องการขออนุญาตเข้าร่วมอบรมจากหน่วยงานเท่านั้น
Name | Size | Hits |
---|---|---|
01-แบบตอบรับการเข้าร่วมอบรม (PDF) | 74.4 KiB | 38 |
01-แบบตอบรับการเข้าร่วมอบรม (Word) | 32.1 KiB | 853 |
สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องมี
ผู้ที่เข้าใจการสื่อสารองค์กรในรูปแบบออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ หรือสามารถดูแลเว็บไซต์ได้เบื้องต้น หรือผู้ที่ปฏิบัติหรือได้รับมอบหมายให้จัดทำเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ของหน่วยงาน
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 น.
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ช่วงเช้า เวลา 10.30 น. ช่วงบ่าย เวลา 14.30 น.