ในยุคดิจิทัลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกปัจจุบัน การพัฒนาทางเทคโนโลยีส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาในการท่องโลกแห่งยุคดิจิทัลเพื่อการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนโลกออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้กระบวนการทางการตลาดในยุคดิจิทัลมีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างการรับรู้ในสินค้าและบริการ เพื่อก่อให้เกิดการเข้าถึงความรู้สึกแบบมีส่วนร่วมกับลูกค้า และการสร้างยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ มาตรฐาน WCAG 2.0 หรือ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 2.0 คือมาตรฐานที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) เพื่อช่วยให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้สะดวกและใช้งานได้สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ, ผู้สูงอายุ, ผู้ใช้ทั่วไป, และบุคคลทั่วไปทุกคนที่มีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน WCAG 2.0 ที่พัฒนาโดย W3C และนำไปปรับใช้กับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้
วิทยากร :
นายชวัลวิทย์ พูลศรี
ผู้ช่วย :
นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี)
นางสาวพัชรี ญานสาร (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี)
ระยะเวลาการอบรม : จำนวน 2 วัน จำนวน 14 ชั่วโมง เวลา 09.00-17.00 น.
สมัครได้ที่
ระบบลงทะเบียนฝึกอบรมออนไลน์ https://regtraining.rmutt.ac.th/
(เข้าระบบด้วย Internet Account ของมหาวิทยาลัยฯ จากนั้นคลิกเมนูหลักสูตรทางคอมพิวเตอร์ และเลือกโครงการที่ต้องการเข้าร่วม)
ตารางอบรม
โครงการการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อรองรับมาตรฐาน W3C สำหรับบุคลากรผู้ดูแลเว็บไซต์
คณะ/หน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2568 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องอบรม 1 อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วัน/เดือน/ปี | เวลา | หัวข้อ |
24 มิถุนายน 2568 | 08.30 – 09.30 น. | บรรยาย (1 ชม.) วิทยากร : นายชวัลวิทย์ พูลศรี – ทำความเข้าใจกับ WCAG 2.0 อธิบายหลักการและข้อกำหนดของ WCAG 2.0 ทบทวนเกี่ยวกับเครื่องมือและทรัพยากรที่ใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ – การปรับเว็บไซต์เพื่อการเข้าถึงได้ (Accessibility) วิธีการปรับเว็บไซต์เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้งานเครื่องมือช่วยเหลือในการทดสอบและปรับปรุง |
09.30 – 12.00 น. | แบ่งกลุ่มปฏิบัติ (2.5 ชม.) วิทยากร : นายชวัลวิทย์ พูลศรี, นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช, นางสาวพัชรี ญานสาร – Workshop การทดสอบและปรับปรุง วิธีการทดสอบเว็บไซต์ การจัดการข้อมูลและการประเมินผลที่ได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงเว็บไซต์ และการประเมินผลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการแก้ไขข้อบกพร่องของเว็บไซต์ – Workshop การเขียนโค้ดและการออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นมาตรฐาน การเขียน HTML, CSS, และ JavaScript ตามมาตรฐาน WCAG 2.0 ใน WordPress ที่ใช้ให้รองรับมาตรฐาน |
|
12.00 – 13.00 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 16.30 น. | แบ่งกลุ่มปฏิบัติ (3.5 ชม.) วิทยากร : นายชวัลวิทย์ พูลศรี, นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช, นางสาวพัชรี ญานสาร – Workshop การเขียนโค้ดและการออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นมาตรฐาน การเขียน HTML, CSS, และ JavaScript ตามมาตรฐาน WCAG 2.0 ใน WordPress ที่ใช้ให้รองรับมาตรฐาน (ต่อ) |
|
25 มิถุนายน 2568 | 08.30 – 12.00 น. | แบ่งกลุ่มปฏิบัติ (3.5 ชม.) วิทยากร : นายชวัลวิทย์ พูลศรี, นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช, นางสาวพัชรี ญานสาร – Workshop การเขียนโค้ดและการออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นมาตรฐาน การเขียน HTML, CSS, และ JavaScript ตามมาตรฐาน WCAG 2.0 ใน WordPress ที่ใช้ให้รองรับมาตรฐาน (ต่อ) – การบริหารจัดการเว็บไซต์ให้เป็นมาตรฐาน การสนับสนุนและการดูแลรักษาเว็บไซต์ และการวางแผนให้เว็บไซต์ปรับปรุงตามมาตรฐาน |
12.00 – 13.00 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 16.30 น. | แบ่งกลุ่มปฏิบัติ (3.5 ชม.) วิทยากร : นายชวัลวิทย์ พูลศรี, นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช, นางสาวพัชรี ญานสาร – แนะนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยในการปรับปรุงเว็บไซต์และการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความเข้าถึง – การปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบาย การทำความเข้าใจกับกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงเว็บไซต์ การปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์ – เทรนด์และพัฒนาการในอนาคต การสำรวจเทรนด์ในการพัฒนาเว็บไซต์ที่เป็นมาตรฐาน การเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์ตามเทรนด์ใหม่ |
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ช่วงเช้า เวลา 10.30 น., ช่วงบ่าย เวลา 14.45 น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นางสาวสาวิตรี ท้วมลี้ ฝ่ายบริการวิชาการและฝึกอบรม โทร. 0 2549 4079 , 0 2549 40793085 (จ.-ศ. 08.30-16.30 น.)