สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีความจำเป็นต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์ขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับมหาวิทยาลัย การเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ดึงดูดนักศึกษาต่างชาติให้เข้ามาศึกษาต่อ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต่อ นอกจากหลักสูตรที่เปิดสอนตรงตามความต้องการและทันสมัยแล้ว ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังเพิ่มช่องทางให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อโดยจัดโครงการพิเศษ เช่น โครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) โครงการรับกลับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (Re-รหัส) โควตานักกีฬา ทุนนวัตกร และมีปัจจัยอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ เช่น ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ รางวัลการแข่งขันต่างๆ ของนักศึกษา ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือการได้รับรองผลการรับรองมาตรฐานในการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยจากการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น QS World University Ranking, U-multirank, Times Higher Education Impact Rankings, Webometric, Google Scholar, Unirank ในการรับประเมินมาตรฐานดังกล่าว ทางผู้ประเมินจะทำการประเมินจากข้อมูลบนเว็บไซต์ ปัจจุบันเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเป็นช่องทางในการค้นหาข้อมูลของผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยทั้งนักศึกษาไทยและต่างชาติที่สนใจเข้าศึกษาต่อ โดยช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือการสมัครเข้าศึกษาโดยตรง แต่พบปัญหาว่า เมื่อเข้ามาค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบตัดสินใจแล้วไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สนใจได้ หาข้อมูลยาก สำหรับชาวต่างชาติที่ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมีเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษน้อย หรือมีเนื้อหาไม่ตรงตามความต้องการ รูปแบบยังไม่ได้มาตรฐานนานาชาติ ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยใหม่ให้รองรับกับกลุ่มผู้ใช้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงมีแผนการปรับปรุงเว็บไซต์คณะและหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือทางด้านวิชาการ ความไว้วางใจเป็นที่ยอมรับต่อผู้สนใจศึกษาต่อ และตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรีจึงได้ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเว็บไซต์สำหรับบุคลากรกลุ่มผู้ดูแลเว็บไซต์คณะ/หน่วยงาน ของมทร.ธัญบุรี เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องอบรม 1 ชั้น 2 อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีบุคลากร มทร.ธัญบุรี สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 40 คน และผู้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ 29 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 69 คน นำโดย ผศ.ปองพล นิลพฤกษ์ รองผู้อำนวยการ เป็นประธานในพิธีเปิด
วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช (วิทยากร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์)
นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี และ นางสาวพัชรี ญานสาร ( วิทยากร ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์)
รายละเอียดหัวข้อที่บรรยายประกอบไปด้วย
1. ตัวอย่างโครงสร้างเว็บไซต์ คณะ / หน่วยงาน
2. รีวิว Template ต้นแบบตามโครงสร้าง
3. ข้อดีของการรวมเว็บไซต์คณะ
4. ปัญหาและอุปสรรคแนวทางการแก้ไข
5. สิ่งอำนวยความสะดวก ในการปรับ Website จากทีม สวส.การตั้งค่าบนเว็บไซต์
1. การติดตั้งและการตั้งค่า BeTheme
2. การติดตั้ง Key BeTheme
3. การติตตั้ง Plugin และการตั้งค่าการใช้งาน
– Slider Revolution
– Duplicate Post
– MCE Table Buttons
– Facebook Chat Plugin
4. การสร้างและติดตั้ง Google Analytics
5 ตั้งค่าทั่วไป WordPress
6. การตั้งค่าและสร้าง Slider Revolution
7. การสร้าง action menu bar และการใส่รูป icon ในเมนู
Workshop ที่ 1 Typography ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 6 เครื่องมือ
Workshop ที่ 2 Boxes ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 18 เครื่องมือ
Workshop ที่ 3 Blocks ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 7 เครื่องมือ
Workshop ที่ 4 Elements ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 15 เครื่องมือ
Workshop ที่ 5 Loops ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 16 เครื่องมือ
Workshop ที่ 6 Other ประกอบด้วยชุดคำสั่ง 6 เครื่องมือการสร้างปฏิทินกิจกรรมด้วย email ของมหาวิทยาลัย เทคนิคการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ที่ได้มาตรฐาน SEO
————————————————————————
สรุปผลสำรวจความพึงพอใจ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเว็บไซต์ คณะ/หน่วยงาน ของ มทร.ธัญบุรี
ระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องอบรม 1 อาคารฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความพึงพอใจต่อโครงการฯ
1. ความคิดเห็นต่อโครงการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความพึงพอใจต่อโครงการ | 4.62 | 92.38 |
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม/สัมนา | 4.71 | 94.29 |
3. ความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของโครงการ | 4.52 | 90.48 |
4. ความรู้ความเข้าใจในโครงการหลังการฝึกอบรม | 4.52 | 90.48 |
5. ประโยชน์ของเนื้อหาสาระของโครงการต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน | 4.71 | 94.29 |
6. ระยะเวลาของโครงการในการฝึกอบรม | 4.29 | 85.71 |
ความคิดเห็นต่อโครงการ | 4.56 | 91.27 |
2. ความคิดห็นต่อการจัดการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. การติดต่อประสานงานกับผู้เข้าฝึกอบรม | 4.48 | 89.52 |
2. การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกรวมทั้งบริการของเจ้าหน้าที่ | 4.43 | 88.57 |
3. ความเหมาะสมของห้องฝึกอบรม | 4.38 | 87.62 |
4. ความเหมาะสมของเครื่องคอมพิวเตอร์ | 4.24 | 84.76 |
5. เครื่องปรับอากาศ | 4.52 | 90.48 |
6. ความพร้อมอุปกรณ์โสต (เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, โปรเจ็คเตอร์) | 4.29 | 85.71 |
7. อาหารกลางวัน | 4.24 | 84.76 |
8. อาหารว่างและเครื่องดื่ม | 4.38 | 87.62 |
ความคิดเห็นต่อโครงการ | 4.37 | 87.38 |
ความพึงพอใจรวม | 4.47 | 89.33 |
ความพึงพอใจต่อวิทยากรและการสอน
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา | 4.38 | 87.62 |
2. ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังข้าใจ | 4.38 | 87.62 |
3 การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ | 4.38 | 87.62 |
4. การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชา | 4.29 | 85.71 |
5 ความชัดเจนในการบรรยาย | 4.29 | 85.71 |
6. การตอบคำถาม | 4.43 | 88.57 |
7. เทคนิค / วิธีการฝึกอบรมที่ใช้ในการถ่ายทอด | 4.38 | 87.62 |
8. การใช้โสตทัศนูปกรณ์ | 4.29 | 85.71 |
9. การควบคุมชั้นเรียน | 4.43 | 88.57 |
10. การรักษาเวลา | 4.24 | 84.76 |
11. ความเหมาะสมของวิทยากรโดยส่วนรวม | 4.38 | 87.62 |
ความคิดเห็นต่อวิทยากร | 4.35 | 87.01 |
————————————————————————
สรุปผลสำรวจความพึงพอใจ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเว็บไซต์ คณะ/หน่วยงาน ของ มทร.ธัญบุรี
ความพึงพอใจต่อโครงการฯ
ผู้ประเมิน 25 คน มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.47 คิดเป็นร้อยละ 89.33 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด
ความพึงพอใจต่อวิทยากรและการสอน
ผู้ประเมิน 25 คน มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.35 คิดเป็นร้อยละ 87.01 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด