ตลาดต้องชม โครงการตลาดชุมชน เพื่อธุรกิจท้องถิ่น
รัฐบาลได้มีนโยบาส่งเสริมการดำเนินการด้านการตลาดภายในประเทศ โดยตั้งเป้าให้มีตลาดชุมชนเกิดขึ้นมนทุกมุมเมือง เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าโดยตรงแก่ประชาชนประชาชน กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน จึงได้ดำเนินโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่นขึ้น ภายใต้ชื่อ “ตลาดต้องชม” ดำเนินการพัฒนาหรือยกระดับตลาดที่จำหน่ายสินค้าเกษตร หัตถกรรม ศิลป OTOPs และสินค้าอุปโภคบริโภคของชุมชนที่ผลิตโดยเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน SMEs และคนในชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง และส่งเสริมเป็นตลาด “ตลาดต้องชม” ที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีการจำหน่ายสินค้าที่มีความเที่ยงตรง เที่ยงธรรม โปร่งใส มีการปิดป้ายแสดงราคา เครื่องชั่งเที่ยงตรง และจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพดี ตามเอกลักษณ์พาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาศิลปวัฒนธรรม และชูอัตลักษณ์ ตลอดจน วิธีชุมชนตาม อัตลักษณ์ของชุมชน
ป้ายไฟ ตลาดร่มหุบ
ออกแบบโดย : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี
ป้ายประชาสัมพันธ์ตลาดต้องชม
ประวัติตลาดร่มหุบ
ตลาดร่มหุบตั้งอยู่ริมรางรถไฟสายแม่กลองซึ่งรถไฟสายแม่กลองเป็นเส้นทางรถไฟที่ให้บริการมานานนับ 100 ปี โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี 2444 ในอดีตมีรถไฟวิ่งมาที่สถานีแม่กลองวันละ 8 เที่ยว แต่ในปัจจุบันเมื่อเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนนพัฒนาขึ้นจึงทำให้การเดินทางโดยถนนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแทนการเดินทางโดยรถไฟ ทำให้การให้บริการรถไฟสายนี้มีปริมาณลดลงเหลือเพียง 4 เที่ยวต่อวัน
ออกแบบโดย : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช
ประวัติตลาดศาลเจ้าโรงทอง
ตลาดศาลเจ้าโรงทองตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อยในอำเภอวิเศษไชยชาญ เดิมเป็นเส้นทางเดินทัพและย่านการค้าสำคัญที่ผู้คนใช้ขึ้น-ล่องไปมาระหว่างภาคเหนือและกรุงเทพฯ โดยมีชื่อว่าบ้านไผ่จำศีล ชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นจากคณะอั้งยี่ซึ่งนำโดยนายสิ่งฮะ แซ่ฉั่ว อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และก่อสร้างศาลเจ้าจึงอิงศิลปะจีนที่สวยงามไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน ในปี 2420 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นตลาดศาลเจ้าโรงทองเพราะเป็นที่ตั้งศาลเจ้ากวนอูและมีโรงทำทองรูปพรรณที่มีชื่อเสียงตั้งอยู่ในตลาดหลายเจ้า เมื่อสิ้นสุดการสู้รบประกอบกับรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาจังหวัดอ่างทองขึ้นจึงทำให้ชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
ประวัติตลาดถนนคนเดินปากแพรก
ปัจจุบันตลาดถนนคนเดินปากแพรกได้กลับมาเปิดให้บริการทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งได้รับการตอบรับมากขึ้นโดยลำดับทั้งจากนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น โดยมีร้านค้าจำนวนมาก และตลาดได้การสนับสนุนในหลายด้านจาก ร้านค้า ชุมชน และหน่วยราชการ
ออกแบบโดย : นางสาววรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี