สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี
จัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2567 ณ รอยัล ฮิลส์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.นครนายก
หลักการและเหตุผล
ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาประเทศ 20 ปี มีเป้าหมายหลักในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยการสร้างและพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคลากรที่มีควาสามารถสอดคล้องกับโจทย์และความต้องการของประเทศ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การพลิกโฉมระบบการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาดังกล่าว
จากนโยบายการปรับเปลี่ยนบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล กระบวนการปรับเปลี่ยนบทบาทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ภาคอุตสาหกรรม สังคม และชุมชน มหาวิทยาลัยฯ จำเป็นต้องจัดทำแผนที่นำทาง 5 ปี (Roadmap) และออกแบบกลไกการปฏิบัติ (Action Agenda) สำหรับการปรับเปลี่ยนบทบาทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในการขับเคลื่อนโจทย์ใหญ่ของประเทศ สามารถส่งเสริมการยกระดับศักยภาพและสร้างทักษะใหม่ด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย รองรับการยกระดับศักยภาพประชากรของประเทศ ภาคอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy; BCG Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และ/หรืออุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ของประเทศ และสามารถขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแท้จริง
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ในการดำเนินการด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ จึงได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยฯ ให้สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ประเทศต้องการ โดยใช้ความสามารถของมหาวิทยาลัยตามความเชี่ยวชาญที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารและบุคลากร เพื่อจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) และพัฒนากลุ่มบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การศึกษา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ บริบท ปัจจัย ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน/องค์กร และข้อมูลสนับสนุนการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กฎระเบียบการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก เครือข่ายความร่วมมือ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพัฒนา รูปแบบการสื่อสาร เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ รวมถึงข้อจำกัดและอุปสรรคต่อในการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
ดังนั้น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงขอเสนอโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เพื่อการรวบรวมข้อมูล ระดมความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะ ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการสร้างศักยภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล อันนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ประเทศ ส่งเสริมการยกระดับ ปรับเปลี่ยน และสร้างทักษะใหม่ให้กับบุคลากร รองรับการพัฒนาประชากรของประเทศ ภาคอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสามารถขับเคลื่อนนโยบายของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อระดมความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะ และส่งเสริมการสร้างศักยภาพของบุคลากรในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
กำหนดการ
โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาฅ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
วันที่ 24-26 มกราคม 2567 ณ รอยัล ฮิลส์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.นครนายก
วัน/เดือน/ปี | เวลา | เนื้อหา |
วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567 | 08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 09.15 น. | พิธีเปิด โดย รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวรายงาน โดย รศ.ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
|
09.15 – 10.30 น. | บรรยาย แนวทางการปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและ DPO ตามกฎหมาย PDPA สำหรับมหาวิทยาลัยไทย โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด |
|
10.30 – 12.00 น. | บรรยาย โลกแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปี 2030 (The Intelligent World 2030) โดย คุณธนาภพ จุทาวรรธนะ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด |
|
13.00 – 14.30 น. | บรรยาย “Generative A! กับความท้าทายและการปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทย” โดย ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
14.30 – 17.00 น. | เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้าน Digital University Transformation กับผู้เข้าร่วมโครงการๆ โดย ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ รศ.ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร คุณธนาภพ จุฑาวรรธนะ ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ศิระเชษฐ์ โพธิ์หิรัญ |
|
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 | 08.30 – 10.00 น. | บรรยาย New technology for university โดย นายกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข นายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส |
09.00 – 09.15 น. | แบ่งกลุ่ม ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2566-2570 ในกรอบประเด็น RMUTT Digital University Transformation โดย 1. คุณสุภัค วิรุฬหการุญ 2. ดร.ธิดารัตน์ โกมลวานิช 3. ดร.ดวงรัตน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 4. คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข นายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส |
|
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 | 08.30 – 12.00 น. | แบ่งกลุ่ม นำเสนอผลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2566-2570 ในกรอบประเด็น RMUTT Digital University Transformation โดย 1. คุณสุภัค วิรุฬหการุญ 2. ดร.ธิดารัตน์ โกมลวานิช 3. ดร.ดวงรัตน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 4. คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข นายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส |
13.00 – 17.00 น. | แบ่งกลุ่ม นำเสนอผลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2566-2570 ในกรอบประเด็น RMUTT Digital University Transformation โดย 1. คุณสุภัค วิรุฬหการุญ 2. ดร.ธิดารัตน์ โกมลวานิช 3. ดร.ดวงรัตน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข นายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส |