โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562
เกี่ยวกับโครงการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายข่ายสมุนไพร
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หลังจากที่มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดำเนินโครงการสนับสนุนเครือข่ายผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร เป็นการรวมกลุ่มแบบคลัสเตอร์สมุนไพร ซึ่งจากความสำเร็จในปี 2560 – 2561 ที่ผ่านมาพบว่าการพัฒนาผู้ประกอบการสมุนไพรในรูปแบบคลัสเตอร์เป็นอีกแนวทางที่ประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้ ก่อให้เกิดการจับจ่ายและเกิดการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
ในปี 2562 นี้ สสว. ยังคงให้ มทร.ธัญบุรี ดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เพิ่มความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ ในการพัฒนาจะเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นแนวทางหลัก เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการ สามารถดำเนินธุรกิจและแข่งขันได้ทั้งในตลาดระดับประเทศ และตลาดต่างประเทศได้
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
– หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs
– หน่วยงานดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมคลัสเตอร์
– ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร
วัตถุประสงค์ของโครงการ
– เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการคลัสเตอร์สมุนไพรให้เกื้อกูลกันในการดำเนินธุรกิจ
– เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
– นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ธุรกิจในเครือข่าย
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ
3. พัฒนาเชิงลึกเพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ
4. จัดอบรมยกระดับศักยภาพ ผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงาน
5. ส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. วัดผลและประเมินผลความสำเร็จตามกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ
– ให้ความรู้ ยกระดับมาตรฐานการเพาะปลูก
– การแปรรูป การให้บริการ พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์
– การตลาดออนไลน์
ส่งเสริมการตลาด
– ร่วมงานแสดงสินค้า
– Business Matching เชื่อมโยง Supply Chains
– เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
วิสาหกิจ/ผู้ประกอบการ
– แผนพัฒนาเครือข่าย/คลัสเตอร์ (Cluster Roadmap)
– เครือข่าย SME ได้รับการพัฒนา
– ผู้ประกอบการ SMEs ที่ร่วมโครงการได้รับการพัฒนา
– พัฒนาผู้สนับสนุนการพัฒนาเครือข่าย (SP) และผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (CDA)
ผลลัพธ์ผลที่คาดว่าจะได้รับ
วิสาหกิจ/ผู้ประกอบการ
– แผนพัฒนาเครือข่าย/คลัสเตอร์ (Cluster Roadmap)
– ผู้ให้บริการเครือข่าย SME ได้รับการพัฒนา
– ผู้ประกอบการ SMEs ที่ร่วมโครงการได้รับการพัฒนา
– พัฒนาบริการทางธุรกิจ (Service Provider) และผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (CDA)
ผลลัพธ์
– เครือข่าย SME ที่ได้รับการพัฒนามีความเข้มแข็ง
– ผู้ประกอบการ SME ในเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า
– Service Provider และผู้ประสานงานเครือข่าย (CDA) มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
– ผู้ประกอบการในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
– มีการนำนวัตกรรม/งานวิจัยมาปรับปรุงผลิตภาพและผลิตผล
กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562
เกี่ยวกับโครงการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มผู้ประกอบการ SME ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงมอบหมาย ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 เพื่อพัฒนาเพิ่มความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายหรือคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร จัดอบรมพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเกษตร และผู้ให้บริการในกระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม และงานวิจัยรวมทั้งการออกแบบและสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพ ทั้งผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider: SP) และผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent: CDA) โดยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมแนวคิดในการพัฒนาคลัสเตอร์ และเชื่อมโยงทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นช่องทางในการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของคลัสเตอร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ
– เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ให้เกื้อกูลกันในการดำเนินธุรกิจ
– เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
– นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ธุรกิจในเครือข่าย
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ
3. พัฒนาเชิงลึกเพื่อยกระดับขีดความสามารถของ ผู้ประกอบการ
4. จัดอบรมยกระดับศักยภาพ ผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงาน
5. ส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. วัดผลและประเมินผลความสำเร็จตามกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ
ด้านการเพิ่มความรู้ความสามารถ
– ให้ความรู้ ยกระดับมาตรฐานการเพาะปลูก
– การแปรรูป การให้บริการ พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์
– การตลาดออนไลน์
ส่งเสริมการตลาด
– ร่วมงานแสดงสินค้า
– Business Matching เชื่อมโยง Supply Chains
– เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
– หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs
– หน่วยงานดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมคลัสเตอร์
– ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร
ผลลัพธ์ผลที่คาดว่าจะได้รับ
วิสาหกิจ/ผู้ประกอบการ
– แผนพัฒนาเครือข่าย/คลัสเตอร์ (Cluster Roadmap)
– ผู้ให้บริการเครือข่าย SME ได้รับการพัฒนา
– ผู้ประกอบการ SMEs ที่ร่วมโครงการได้รับการพัฒนา
– พัฒนาบริการทางธุรกิจ (Service Provider) และผู้ประสานงานคลัสเตอร์ (CDA)
ผลลัพธ์
– เครือข่าย SME ที่ได้รับการพัฒนามีความเข้มแข็ง
– ผู้ประกอบการ SME ในเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า
– Service Provider และผู้ประสานงานเครือข่าย (CDA) มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
– ผู้ประกอบการในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
– มีการนำนวัตกรรม/งานวิจัยมาปรับปรุงผลิตภาพและผลิตผล