เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ BSA ได้รายงานผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกประจำปีพ.ศ. 2554 พบร้อยละ 74 ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยยอมรับว่าเคยซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ใช้บางรายยอมรับว่าใช้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่เป็นประจำ ส่วนรายอื่นยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นบางครั้ง
ส่วนอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 72 ในปีที่ผ่านมา เท่ากับเกือบสองในสามของซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดลงในพีซีเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่มีไลเซ็นต์ มูลค่าความเสียหายเท่ากับ 26,000 ล้านบาท
ร้อยละ 59 ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ “ทุกครั้ง” “เป็นประจำ” หรือ “เป็นบางครั้ง” ในขณะที่ร้อยละ 14 ยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ “นานๆ ครั้ง” ผลการศึกษาโดยยังพบว่าผู้ที่ยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีอายุระหว่าง 18-44 ปี
การศึกษาทั่วโลกยังพบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นสูงกว่าในตลาดที่มีอยู่เดิมแล้ว ร้อยละ 68 ถึง 24 หรือโดยเฉลี่ย และตลาดเกิดใหม่ยังมีมูลค่าความเสียหายในสัดส่วนที่มากกว่า สิ่งนี้ได้ช่วยให้เห็นพลวัตทางการตลาดที่อยู่เบื้องหลังอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกที่ยังอยู่ที่ร้อยละ 24 ในปี 2554 ในขณะที่การขยายตัวของตลาดยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องในประเทศที่กำลังพัฒนาทำให้มูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.9 พันล้านบาท
ผลการศึกษาอื่นๆ ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกมีดังต่อไปนี้
- ทั่วโลกพบว่ากลุ่มผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บ่อยที่สุดมีอายุน้อย เป็นเพศชาย และอาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนามากกว่าในเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วถึงสองเท่า (ร้อยละ 38 ต่อ 15)
- กลุ่มผู้ที่ต้องตัดสินใจทางธุรกิจยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่น รวมทั้งกล่าวว่าพวกเขาซื้อซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง แต่ติดตั้งซอฟต์แวร์นั้นลงบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในสำนักงาน มากกว่ากลุ่มอื่นถึงสองเท่า
- โดยหลักการแล้วทั่วโลกให้การสนับสนุนสิทธิและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี แต่ในทางปฏิบัติกลับขาดแรงจูงใจให้ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีเพียงร้อยละ 20 ของผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นประจำในตลาดพัฒนาแล้วและร้อยละ 15 ของผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นประจำในตลาดกำลังพัฒนาที่บอกว่าความเสี่ยงจากการถูกจับกุมคือเหตุผลที่ทำให้ไม่กล้าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
การศึกษานี้จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 โดยกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ร่วมกับไอดีซีและ Ipsos Public Affairs ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำของโลก การศึกษาทำโดยการเก็บข้อมูล 182 ตัวอย่าง และประเมินแนวโน้มด้านซอฟต์แวร์และพีซีใน 116 ประเทศ ในปีนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 15,000 คน จาก 33 ประเทศ ซึ่งคิดรวมกันเป็นร้อยละ 82 ของตลาดพีซีโลกอีกด้วยทั้งหมดนี้สามารถดาวน์โหลดผลการศึกษาฉบับเต็มเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกประจำปีพ.ศ. 2554 รวมทั้งข้อมูลของประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ของบีเอสเอ www.bsa.org/globalstudy