วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการออกแบบอินโฟกราฟฟิก
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างสื่ออินโฟกราฟฟิกประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ หรือใช้ในงานได้
วิทยากร : นางสาวเบญสิร์ยา ปานปุญญเดช (หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์)
ผู้ช่วยวิทยากร : นางสาววิริยา สมบูรณ์ผล (ผู้ช่วยวิทยากร งานพัฒนาสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์) และนางสาวรัชนี แสงแก้ว (งานพัฒนาสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์/ให้บริการโปรแกรมภาษา)
ปัจจุบันการทำงานในยุค New Normal ทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้แตกต่างไปจากที่เคย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อภาพรวมขององค์กร โดยมีการสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาสื่อดิจิทัลมากมายที่จะช่วยให้บุคลากรในองค์กรทำงานด้าน Infographic ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือในการพัฒนาสื่อก็มีให้เลือกใช้มากมาย แต่เครื่องมือที่ได้รับความนิยม คือ Canva Platform และ VistaCreate Platform ซึ่ง Canva Platform เป็นเครื่องมือออกแบบกราฟิกและตัดต่อวิดีโอสำหรับสร้างและเผยแพร่สื่อการตลาด งานนำเสนอ เนื้อหาโซเชียลมีเดีย และผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยใช้ตัวแก้ไขแบบลากและวางและไลบรารีเทมเพลตที่ปรับแต่งได้ VistaCreate Platform เป็นเครื่องมือแก้ไขภาพออนไลน์สำหรับสร้างวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว การออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อสังคมออนไลน์ งานพิมพ์ เว็บไซต์ หรืองานออกแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแทบทุกประเภทสำหรับเชิงพาณิชย์ ธุรกิจ หรือความต้องการส่วนตัว ChatGPT ตัวช่วยคิด content pillar ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ โปรแกรม Microsoft ClipChamp เครื่องมือที่ช่วยในการใส่เสียงด้วย Ai สำหรับการสร้างเสียงบรรยายต่างๆ
ดังนั้นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Up Skill เครื่องมือตามทันยุค New Normal ให้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัย ตามที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด
ความรู้สึกของเข้าอบรมที่มีต่อโครงการ
|
รายละเอียดการบรรยายประกอบไปด้วย
1. ความรู้เกี่ยวกับ New Normal คืออะไร
2. หลักการออกแบบและการจัดวางองค์ประกอบของงานออกแบบ หลักการเลือกใช้สีและการสื่อความหมาย การเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับงา
3. ทำความรู้จักโปรแกรม Canva
- ข้อดีของ Canva
- วิธีการเข้าใช้งาน Canva
- การสมัครใช้งานผ่านเว็บไซต์
- หน้าจอประเภทของงานออกแบบใน Canva
- หน้าแรกของ Canva
- เครื่องมือของ Canva หน้าจอคำสั่ง “แม่แบบ (Template) หน้าจอคำสั่ง “องค์ประกอบ (Elements) หน้าจอคำสั่ง “อัปโหลด (Upload)” หน้าจอคำสั่ง “ข้อความ (Text)”
- ขั้นตอนการเพิ่มองค์ประกอบ หรือแก้ไของค์ประกอบใน Canva
- ตัวอย่างที่ 1 การเพิ่มหรือแก้ไของค์ประกอบประเภท เส้นและรูปร่าง
- ตัวอย่างที่ 2 การเพิ่มหรือแก้ไของค์ประกอบประเภท กราฟฟิก
- ตัวอย่างที่ 3 การเพิ่มหรือแก้ไของค์ประกอบประเภท ภาพถ่าย
- ขั้นตอนการอัปโหลดไฟล์ ใน Canva
- ขั้นตอนการแทรกข้อความ ใน Canva
- ขั้นตอนการแชร์ไฟล์หรือบันทึกไฟล์เพื่อนำไปใช้งาน
4. Workshop (บรรยายพร้อมปฏิบัติ) ทำสื่อ Infographic จาก Canva
- Banner Infographic 4 P’s
- การออกแบบหน้าปก
- การสร้างงานนำเสนอ
- การสร้างวิดีโอและแทรกเสียง ด้วยการใช้ข้อความด้วย Microsoft ClipChamp
- การตัดต่อวิดีโอ
- เทคนิคการประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ภายในองค์กรและการแบ่งปันไฟล์
5. ChatGPT เครื่องมือในการสร้าง Content Pillar ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
6. ทำความรู้จักโปรแกรม VistaCreate
สรุปผลสำรวจความพึงพอใจ
ความพึงพอใจต่อโครงการฯ
ผู้ประเมิน 29 คน มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.82 คิดเป็นร้อยละ 96.36 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด
1. ความคิดเห็นต่อโครงการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความพึงพอใจต่อโครงการ | 4.90 | 97.93 |
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม/สัมนา | 4.93 | 98.62 |
3. ความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของโครงการ | 4.93 | 98.62 |
4. ความรู้ความเข้าใจในโครงการหลังการฝึกอบรม | 4.93 | 98.62 |
5. ประโยชน์ของเนื้อหาสาระของโครงการต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน | 4.93 | 98.62 |
6. ระยะเวลาของโครงการในการฝึกอบรม | 4.83 | 96.55 |
ความคิดเห็นต่อโครงการ | 4.91 | 98.16 |
2. ความคิดห็นต่อการจัดการ
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. การติดต่อประสานงานกับผู้เข้าฝึกอบรม | 4.76 | 95.17 |
2. การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกรวมทั้งบริการของเจ้าหน้าที่ | 4.86 | 97.24 |
3. ความเหมาะสมของห้องฝึกอบรม | 4.86 | 97.24 |
4. ความเหมาะสมของเครื่องคอมพิวเตอร์ | 4.76 | 95.17 |
5. เครื่องปรับอากาศ | 4.72 | 94.48 |
6. ความพร้อมอุปกรณ์โสต (เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, โปรเจ็คเตอร์) | 4.69 | 93.79 |
7. อาหารกลางวัน | 4.55 | 91.03 |
8. อาหารว่างและเครื่องดื่ม | 4.62 | 92.41 |
ความพึงพอใจรวม | 4.82 | 96.36 |
ความพึงพอใจต่อวิทยากรและการสอน
ผู้ประเมิน 29 คน ความพึงใจต่อวิทยากร มีระดับคะแนนเท่ากับ 4.93 คิดเป็นร้อยละ 98.62 ซึ่งอยู่ที่ระดับมากที่สุด
หัวข้อประเมิน | ความพึงพอใจ | |
ระดับคะแนน | ร้อยละ | |
1. ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา | 4.93 | 98.62 |
2. ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังข้าใจ | 4.93 | 98.62 |
3 การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ | 4.93 | 98.62 |
4. การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชา | 4.93 | 98.62 |
5 ความชัดเจนในการบรรยาย | 4.93 | 98.62 |
6. การตอบคำถาม | 4.93 | 98.62 |
7. เทคนิค / วิธีการฝึกอบรมที่ใช้ในการถ่ายทอด | 4.93 | 98.62 |
8. การใช้โสตทัศนูปกรณ์ | 4.93 | 98.62 |
9. การรักษาเวลา | 4.93 | 98.62 |
10. ความเหมาะสมของวิทยากรโดยส่วนรวม | 4.93 | 98.62 |
ความคิดเห็นต่อวิทยากร | 4.93 | 98.62 |